บริการนักศึกษา
บริการอาจารย์
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข้อมูลหลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
หลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
บริการนักศึกษา
ติดต่อเรา
|
|
หลักสูตรอบรมการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต

หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง
สาขา การพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) Program of Nursing Specialty in Renal Replacement Therapy Nurse Practitioner (Hemodialysis)

ชื่อหลักสูตร
          ภาษาไทย : หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)
          ภาษาอังกฤษ : Program of Nursing Specialty in Renal Replacement Therapy Nurse Practitioner (Hemodialysis)

ชื่อประกาศนียบัตร
          ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)
          ภาษาอังกฤษ : Certificate of Nursing Specialty in Renal Replacement Therapy Nurse Practitioner (Hemodialysis)
          ชื่อย่อ : ป. การพยาบาลเฉพาะทางเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)

รูปแบบของหลักสูตร
        หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น 6 เดือน หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) ตามเกณฑ์การจัดทำหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางและการบริหารหลักสูตร พ.ศ. 2557 และหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางต้นแบบ พ.ศ. 2563 ที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง

ประเภทของหลักสูตร : เป็นหลักสูตรฝึกอบรมทางวิชาชีพหลังปริญญาตรี
ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
การรับเข้าฝึกอบรม : รับผู้เข้าอบรมที่สามารถสื่อสารภาษาไทย
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรความร่วมมือระหว่างคณะพยาบาลศาตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์
การให้ประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม :
          1. ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)
          2. หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องการพยาบาล (CNEU) 50 หน่วยคะแนน
          3. ประกาศนียบัตรการช่วยชีวิตขั้นสูง (ACLS)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการฝึกอบรม
        เป็นพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ทั้งในภาครัฐและเอกชน

          ประเทศไทยมีนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน และยั่งยืน จากการลงมติรับรองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2554-2573 ใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การยึดมั่นในหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) การสร้างภูมิคุ้มกัน 3) การลดความเหลื่อมล้ำและให้ความสําคัญกับสิทธิมนุษยชน 4) รูปแบบการดําเนินงานต้องเริ่มจากการวางกรอบกติกาสังคม ให้มั่นคงและเป็นธรรมให้ทุกคนมีความเสมอภาค มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและการบริการภาครัฐอย่างเท่าเทียม และให้ความสําคัญกับการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาทั้งในประเทศ
และระหว่างประเทศ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดสิทธิประโยชน์ของโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย ที่ขยายขอบเขตการรักษาให้ครอบคลุม และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดหลักเกณฑ์และค่ารักษาพยาบาล ในการเบิกจ่ายค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ตามอัตรา ครั้งละ 1500 บาท ทำให้รัฐบาลต้องดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
          ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถทดแทนการทำหน้าที่ของไต และประคับประคองชีวิตผู้ป่วยให้สามารถดำเนินชีวิตใกล้เคียงภาวะปกติ เพื่อเตรียมรับการปลูกถ่ายเปลี่ยนไต ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีการรับรองหน่วยบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง ร่วมกับการกำหนดมาตรฐานการบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้มีอัตรากำลังพยาบาลไตเทียม 1 คนต่อผู้รับบริการ 4 คน ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนพยาบาลไตเทียมที่ผ่านการอบรมไม่เพียงพอต่อการบริการผู้ป่วย ตลอดจนผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีความซับซ้อนจากการมีโรคเรื้อรังร่วมหลายระบบ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น ทำให้การดูแลผู้ป่วยมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ร่วมกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีความก้าวหน้ามากขึ้นจึงจำเป็นต้องใช้พยาบาลที่มีความรู้ ทักษะ มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดทดแทนไต รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องมือพิเศษ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและเครื่องมือพิเศษสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้
          คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ได้เห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จึงดำเนินการจัดหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต โดยนำหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ฉบับปรับปรุง 2560 ที่พัฒนาขึ้นโดยสภาการพยาบาล เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย ตรวจวินิจฉัยปัญหาสุขภาพ ประเมิน เฝ้าระวังและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่ได้การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตลอดจนสามารถจัดการดูแลผู้ป่วยให้คงสภาวะสุขภาพ ให้คำปรึกษา และบริหารจัดการหน่วยไตเทียม กำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนผลลัพธ์ของการบริการ รวบรวมข้อมูลและจัดการข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังและให้การบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ทั่วไป
          เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจนโยบายและระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคไตเรื้อรังและการบำบัดทดแทนไต มีความรู้และทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตระยะท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ปฏิบัติการพยาบาลและการบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยที่รับการบำบัดทดแทนไต สามารถใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องปลอดภัย บนพื้นฐานจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและหลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถประเมินปัญหา วางแผนป้องกัน จัดการกับภาวะแทรกซ้อน และความเสี่ยง รวมทั้งใช้สารสนเทศทางสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล และประสานงานกับทีมสุขภาพระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์เฉพาะ
          หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อให้พยาบาลมีสมรรถนะดังต่อไปนี้
          1. วิเคราะห์ นโยบาย ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ และจัดรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพได้
          2. มีทักษะในการประเมินและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้
          3. มีทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมบนพื้นฐานกฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
          4. จัดระบบการใช้บุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งการประสานงานในทีมเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ
          5. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไต และจัดการสุขภาพตนเองได้
          6. มีทักษะในการวิเคราะห์ หลักฐานเชิงประจักษ์และสารสนเทศทางสุขภาพ ในการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนของหลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
          1. วิเคราะห์ นโยบาย ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ และจัดรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพได้
          2. มีทักษะปฏิบัติในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมาย
          3. มีทักษะในการประเมินและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และสารสนเทศทางสุขภาพ ร่วมกับใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลทางสุขภาพในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
          4. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ในการเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตและการจัดการสุขภาพ รวมทั้งการจัดระบบการใช้บุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ และประสานงานในทีมเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ

          สมรรถนะของผู้เข้าอบรม หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) กำหนดเป็นมาตรฐาน โดยสภาการพยาบาล 4 สมรรถนะ ดังนี้
สมรรถนะ 1 สามารถให้การพยาบาลและให้การบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย
          1. วิเคราะห์สถานการณ์โรคไต นโยบาย กฎหมายและจริยธรรม รวมทั้งทรัพยากรในการจัดระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย
          2. ประเมินและวินิจฉัยภาวะสุขภาพขั้นสูง คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง รวมทั้งการประเมินสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของผู้ป่วยและครอบครัว
          3. ปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทั้งระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมและต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
          4. ประเมินผลลัพธ์ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยทั้งระยะสั้นและระยะยาว
          5. สนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวจัดการสุขภาพตนเอง
          6. ใช้เทคโนโลยีเพื่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
สมรรถนะ 2 สามารถจัดการข้อมูลทางสุขภาพของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อย่างเหมาะสม
          1. ระบุตัวชี้วัดภาวะสุขภาพ และตัวชี้วัดจากผลของการรักษาพยาบาล
          2. เลือกใช้เทคโนโลยีในการบันทึกและรวมรวมข้อมูล
          3. วิเคราะห์ข้อมูลและเสนอแนวทางในการปรับปรุงการพยาบาลผู้ป่วย
สมรรถนะ 3 สามารถใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based Practice) ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดเครื่องไตเทียม
          1. รวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิกที่มีผลที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ เพื่อการประชุมปรึกษาหารือในการป้องกันและปรับปรุงการรักษาพยาบาล
          2. บันทึกหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก
สมรรถนะ 4 มีทักษะหรือหัตถการที่เฉพาะหรือจำเป็นในการพยาบาลเฉพาะด้านทางคลินิกในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          1. เลือกใช้เครื่องมือเพื่อประเมินผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้แก่ การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อน ขณะและหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ความเพียงพอในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (KT/V) การประเมินภาวะโภชนาการ การประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
          2. ให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้แก่ การบำบัดทดแทนไต การดูแลตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหารเฉพาะโรค การดูแลเส้นฟอกเลือด เป็นต้น

คุณสมบัติทั่วไป
          1. มีสัญชาติไทย
          2. เป็นผู้ที่มีความปรพฤติดี มีความรับผิดชอบ ประวัติการทำงานดี
          3. ไม่เคยต้องรับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
          4. ไม่เคยเป็นผู้ถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือถูกไล่ออกจากหน่อยงานทั้งของรัฐและเอกชน
          5. ไม่เป็นโรคอันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและฝึกปฏิบัติ
          6. ไม่ตั้งครรภ์ระหว่างการศึกษา
          7. มีใบรับรองจากผุ้บังคับบัญชาขั้นต้น (หัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล) ได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อได้ตลอดหลักสูตรจากผุ้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นๆ(ผู้อำนวยการหรือเทียบเท่า)

คุณสมบัติเฉพาะ
          1. เป็นผู้ได้รับปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีในสาขาวิชาการพยาบาล
          2. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการพยาบาลผดุงครรภ์ชั้น 1 จากสภาการพยาบาล ที่ยังไม่หมดอายุ
          3. เป็นผู้ที่มีประสบการณlปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี
          4. เป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติงานในหน่วยบำบัดทดแทนไต หรือมีแผนให้ปฏิบัติงานในหน่วยงานบำบัดทดแทนไต เมื่อสำเร็จการอบรม
          5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
          6. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก

1. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
2. โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์
3. โรงพยาบาลศิริราช

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร    19 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย  3 หมวดวิชา 9 รายวิชา ดังนี้

หมวดวิชา

หน่วยกิต

1. วิชาแกน 1 รายวิชา                       

2

1.1 วิชานโยบายและระบบสุขภาพ
     (Policy and health service system)

2(2-0-4)

2. วิชาบังคับของสาขาทางคลินิก 1 รายวิชา

2

2.1 วิชาการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไต 
      (Advanced health assessment and clinical Judgment for the patients with kidney disease)

2(1-2-3)

3. วิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขา 7 รายวิชา

15

3.1 วิชาหลักพื้นฐานในการพยาบาลผู้ป่วยโรคไต                                 
      (Essential nursing principle for patients with kidney disease)

3(3-0-6)

3.2 วิชาการบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
      (Hemodialysis therapy) 

2(2-0-4)

3.3 วิชาการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง                                               
      (Nursing care of Patient Undergoing Peritoneal Dialysis)

1(1-0-2)

3.4 วิชาการพยาบาลและบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมผู้ป่วยภาวะวิกฤต  
      (Nursing care and hemodialysis therapy for critically ill patients)   

2(2-0-4) 

3.5 ปฏิบัติการจัดการสารสนเทศในการดูแลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
      (Practicum of data management in hemodialysis patients)

1(0-4-1)

3.6 ปฏิบัติการบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม                           
      (Practicum of nursing for hemodialysis therapy)

4(0-16-4)

3.7 ปฏิบัติการพยาบาลและการบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมผู้ป่วยวิกฤต         
      (Practicum of nursing care and hemodialysis therapy for critically ill patient)

2(0-8-2)

รวม

19



1. มีเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
2. มีระยะเวลาการฝึกปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 380 ชั่วโมง
3. ได้เกรดเฉลี่ยในทุกวิชาและตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
4. ผ่านการฝึกงานเพื่อเพิ่มพูนทักษะการบำบัดทดแทนไตเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และอย่างน้อย 50 รอบ ภายใต้การดูแลของอาจารย์พยาบาลพี่เลี้ยง (preceptor) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางการบำบัดทดแทนไตที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในหน่วยไตเทียมไม่น้อยกว่า 5 ปี

Skip to content