บริการนักศึกษา
บริการอาจารย์
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข้อมูลหลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
หลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
บริการนักศึกษา/อาจารย์
ติดต่อเรา
|
|
หลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ

หลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ
Certificate Program of Care Assistants for Older Persons

ชื่อหลักสูตร
          ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563
          ภาษาอังกฤษ : Certificate Program of Care Assistants for Older Persons
ชื่อประกาศนียบัตร
          ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563
          ชื่อย่อ : ป.พนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ
          ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Certificate Program of Care Assistants for Older Persons
          ชื่อย่อ : Cert.CA. for Old Persons
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 16 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
          1. รูปแบบ : หลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ
          2. ประเภทของหลักสูตร : หลักสูตรประกาศนียบัตร
          3. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย
          4. การเข้าศึกษา : รับนักเรียที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไปที่สามารถสื่อสารภา
          5. ความร่วมมือ กับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
          6. การให้ประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการอบรม : ให้ประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ
สถานที่จัดการเรียนการสอน
          จัดการเรียนการสอนที่ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร ดวงใจเนอรซิ่งโฮม มีนบุรี ศูนย์ผู้สูงอายุบ้านสุทธาวาส เฉลิมพระเกียรติ นครนายก และหน่วยงานอื่นที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีความร่วมมือทางวิชาการด้วย

ปรัชญาของหลักสูตร
          คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ มีความเชื่อว่าพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุเป็นผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยใช้ความรู้ทางการพยาบาลผู้สูงอายุชั้นพื้นฐาน กฎหมาย จริยธรรม ศิลปะการดูแลและประสบการณ์ บนพื้นฐานของการดูแลคนด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์และสัมพันธภาพที่เอื้ออาทรในการช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ช่วยป้องกันความเจ็บป่วย ดูแลสุขวิทยาขั้นพื้นฐานให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ สร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการบริการการจัดการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้ผู้อบรมมีความรู้ความเข้าใจผู้สูงอายุ มีทักษะการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุขั้นพื้นฐานในสถานพยาบาล ที่บ้านและในชุมชน ใช้ปฏิภาณไหวพริบในการปฏิบัติ เรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความสามารถ สื่อสารกับทีมสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม เข้าใจในคุณค่าความเป็นมนุษย์ของตนเองและบุคคลอื่น เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัว

ความสำคัญ
          ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาผู้สูงอายุที่มีความต้องการการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุมีการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดการออกกำลังกายส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ มีการเจ็บป่วยเรื้อรังและความพิการ เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น เกิดปัญหาการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้น้อย ติดบ้าน ติดเตียง ตามมาประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับภาวการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคือประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนเกินร้อยละ 10 การคาดประมาณประชากรของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2553 ถึง พ.ศ.2583 พบว่า ปี พ.ศ. 2553 สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.2 และใน พ.ศ.2583 สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 32.1 ปัญหาสุขภาพของประชากรสูงอายุที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันที่อาจเกิดอุบัติเหตุนำไปสู่ความพิการ เช่นปัญหาด้านการมองเห็น สายตาเลือนรางทั้งสองข้าง หูตึงทั้งสองข้างและอัมพฤกษ์
          ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ที่มีจิตในการทำประโยชน์ให้ผู้อื่นก่อนคิดถึงประโยชน์ของตัวเองพร้อมบริการสังคมด้วยความรู้ความชำนาญ คุณธรรมจริยธรรม จิตอาสา ความมุ่งมั่นและด้วยความเป็นเลิศในวิชาชีพเพื่อทุกชีวิตในสังคม อีกทั้งเป็นสถาบันที่ให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานสากลแก่ประชาชนอย่างไม่หวังผลกำไร โดยเฉพาะผู้ที่ยากไร้และด้อยโอกาสเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ
          จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการผลิตบุคลากรทางการพยาบาล จึงได้จัดโครงการผลิตบุคลากรหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ (Care Assistants for Older Persons) ที่เน้นการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรซึ่งปัจจุบัน สูงอายุ ตลอดจนการเจ็บป่วยที่พิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการช่วยเหลือดูกิจวัตรประจำวันชั้นพื้นฐานได้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามอัตภาพ ให้ผู้สูงอายุมีโอกาสได้รับการช่วยเหลือดูแลอย่างมีคุณภาพ ระบบสุขภาพไทยสามารถขับเคลื่อนไปด้วยดี การจัดอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การผู้สูงอายุ(Care Assistants for Older Persons) จะเป็นการอบรมให้การดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้างบางส่วนในเรื่องเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ สุขวิทยาส่วนบุคคล การให้อาหาร การเคลื่อนไหวร่างกาย การพักผ่อนนอนหลับ การดูแลความปลอดภัย และความสุขสบาย ฯลฯ รวมทั้งการดูแลความสะอาดและความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม โดยเป็นการดูแลร่วมกันกับญาติ และเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในโร่งพยาบาล บ้าน ชุมชน สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานบริการสุขภาพอื่น ๆ จะต้องอยู่ภายใต้ ระบบการจัดการในความควบคุมของพยาบาลวิชาชีพ โดยการจ้างงานที่มีพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้จัดการดูแล (Agency)

1. มีความรู้และทักษะในการดูแลขั้นพื้นฐานเสมือนญาติผู้สูงอายุที่ไม่อยู่ในภาวะวิกฤติได้ ทั้งในโรงพยาบาล บ้าน ชุมชน สถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานบริการสุขภาพอื่น ภายใต้การควบคุมของพยาบาลวิชาชีพ
2. ให้การดูแลกิจวัตรประจำวันได้ ภายใต้การควบคุมของพยาบาลวิชาชีพ
3. สามารถทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาทางการแพทย์และการพยาบาล และจัดสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุได้
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถประสานงานและทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในทีมสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
5. แสดงออกถึงความเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่ออาชีพ และมีระเบียบวินัยมีความเอื้ออาทร ซื่อสัตย์ เมตตา คุณธรรม จริยธรรม และเคารพในสิทธิของผู้รับบริการและผู้ร่วมงาน

ระบบการจัดการอบรม
          ใช้ระบบการจัดการอบรมระยะสั้น 6 เดือน
การคิดหน่วยกิต
          รายวิชาภาคทฤษฎี ใช้เวลาบรรยายหรือการอภิปรายปัญหาหรือการศึกษาเทียบเท่าให้ 1 หน่วยกิตให้ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง
          รายวิชาภาคปฏิบัติในคลิก การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนามหรือการทำโครงงานหรือ
          กิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย ให้ 1 หน่วยกิต ให้ไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง
การดำเนินการหลักสูตร
          วัน – เวลา ในการดำเนินการเรียนการสอน
          รายวิชาภาคทฤษฎี จัดการอบรมในวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น.
          รายวิชาภาคปฏิบัติ จัดการอบรมเต็มวันระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น.
          ระยะเวลาการอบรม ใช้ระยะเวลาการอบรม 6 เดือน จำนวน 510 ชั่วโมง
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
          1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป
          2. มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
          3. ผู้ที่ทำงานแล้วและต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะ
          4. ผู้สูงอายุหรือผู้ที่เกษียณแล้วต้องการจะประกอบอาชีพอื่นที่แตกต่างจากเดิม
          5. มีสัญชาติไทย มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่มีโรคหรือความพิการที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
ระบบการอบรม
          ใช้ระบบการอบรมแบบชั้นเรียน
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  16 หน่วยกิต
          1. ทฤษฎี 10 หน่วยกิต (150 ชั่วโมง)
          2. ปฏิบัติ 6 หน่วยกิต (360 ชั่วโมง)
รายวิชาในหลักสูตร ประกอบด้วย
          1. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น                               1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          2. การดูแลผู้สูงอายุ                                                               2 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          3. การดูแลด้านการจัดอาหาร                                                  1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          4. การควบคุมป้องกันการติดเชื้อและการบำรุงรักษาเครื่องมือ   1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          5. การดูแลด้านจิตสังคม                                                        1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          6. จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง                                       1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          7. การช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน                                     1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          8. การบันทึกและการรายงาน                                                 1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          9. พฤติกรรมบริการ                                                               1 หน่วยกิต (ทฤษฎี)
          10. ปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุ                                                   4 หน่วยกิต (ปฏิบัติ)
          11. ปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุด้านจิตสังคม                                 2 หน่วยกิต(ปฏิบัติ)

 1. มีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการให้การดูแลผู้สูงอายุด้านความต้องการขั้นพื้นฐานและดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นฟูสภาพตามแผนการรักษา
2. ใช้เหตุผลและความคิดในการวิเคราะห์ปัญหา ตัดสินใจ เพื่อการวางแผนให้การดูแลผู้สูงอายุ
3. ปฏิบัติกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุขั้นพื้นฐานและดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ การป้องกันภาวะแทรกช้อน และการฟื้นฟูสภาพตามแผนการรักษา มีการติดต่อสื่อสารที่ดีและการทำงานเป็นทีม
4. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัสในการสืบค้นและนำเสนอข้อมูลเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ
5. มีความรับผิดชอบนำตนเองในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
6. มีความซื่อสัตย์ จิตบริการที่ดี

หลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุ พ.ศ.2563
Skip to content