บริการนักศึกษา
บริการอาจารย์
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข้อมูลหลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
หลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
บริการนักศึกษา/อาจารย์
ติดต่อเรา
|
ประวัติคณะพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี

พระปณิธาน

“ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นองค์กรที่ข้าพเจ้าตั้งใจจัดตั้งขึ้นเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และการวิจัยที่จะสร้างบัณฑิต และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ที่มีจิตในการทำประโยชน์ให้ผู้อื่นก่อนคิดถึงประโยชน์ของตัวเอง พร้อมบริการสังคม ด้วยความรู้ความชำนาญ คุณธรรมจริยธรรม จิตอาสา ความมุ่งมั่น และด้วยความเป็นเลิศในวิชาชีพเพื่อทุกชีวิตในสังคม อีกทั้งเป็นสถาบันที่ให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานสากล แก่ประชาชนอย่างไม่หวังผลกำไร โดยเฉพาะผู้ที่ยากไร้และด้อยโอกาส เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ”

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ประวัติคณะพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เป็นประธานคณะกรรมการในโครงการจัดตั้งหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ตามคำสั่งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่พิเศษ 14/2558 เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการโครงการจัดตั้งหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สั่ง ณ วันที่ 10 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558

รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง ได้ทูลเกล้าฯ เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้เทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาชีพพยาบาลครบทุกสาขาหลักในวิชาชีพการพยาบาลเป็นกรรมการ ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามคำสั่งที่พิเศษ 23/2558 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สั่ง ณ วันที่ 24 เดือนกันยายน พ.ศ.2558 คณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้เริ่มประชุมเพื่อดำเนินการตามที่ได้รับโปรดเกล้าฯ มอบหมายเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 เดือนตุลาคม พ.ศ.2558 โดยใช้สถานที่ประชุมที่สภาการพยาบาล

การจัดทำร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตแล้วเสร็จ ได้ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาพยาบาลศาสตร์วิพากษ์และให้ความเห็น ซึ่งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 22 เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 และคณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้พิจารณาตรวจทานร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 และตามมาตราฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 อีกครั้งหนึ่ง ในการประชุมครั้งที่ 15/2559 วันที่ 26 เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้เสนอร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เพื่อพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ได้พิจารณาให้การรับรองร่างหลักสูตรฯ ดังกล่าว เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 และควรให้นำเสนอสภาการพยาบาลและเสนอกรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์พิจารณาต่อไป

คณะกรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้พิจารณาอนุมัติร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ตามที่นำเสนอในการประชุมครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 3 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 และมีมติให้ปรับ “สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์” เป็น “คณะพยาบาลศาสตร์” วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สภาการพยาบาล พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามมาตราฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 และตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2559 เมื่อวันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560 ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 ในการประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 12 เดือนมกราคม พ.ศ. 2561

คณะกรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พิจารณาอนุมัติหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2560 ในการประชุมครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 11 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561

ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง ผังโครงสร้างการบริหารงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ลงนาม วันที่ 25 พ.ย. 2565) โอนย้าย คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ไปสังกัด กลุ่มหน่วยงานภารกิจเฉพาะ สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก คณะพยาบาลศาสตร์ เป็น วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565

ทิศทางและเป้าหมายของคณะพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี

ปรัชญา
ปณิธาน
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
ปรัชญาการศึกษา
การพยาบาลเป็นการปฏิบัติกับชีวิตและสุขภาพมนุษย์ทุกวัย ทั้งบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยบูรณาการความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการแพทย์ ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ กฎหมาย และศิลปะทางการพยาบาล บนพื้นฐานของการดูแลคนด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์และสัมพันธภาพที่เอื้ออาทร
มุ่งมั่นผลิตพยาบาลที่มีจิตวิญญาณของนักวิชาชีพ ที่มีความรอบรู้ มีจิตบริการ เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

สร้างผู้นำทางการพยาบาล เสริมสร้างสุขภาวะของประชาชน ด้วยการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมระบบบริการสุขภาพ เพื่อความเป็นเลิศของทุกชีวิต

1. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล มีความเป็นผู้นำและความเป็นมนุษย์
2. วิจัยสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมด้านการพยาบาล และหรือสุขภาพที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
3. ให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ และเป็นศูนย์การศึกษาต่อเนื่องในสาขาพยาบาลศาสตร์และด้านสุขภาพของประเทศ
4. บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
5. บริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ สู่องค์กรที่มีความเป็นเลิศ อย่างยั่งยืน

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดการศึกษาโดยยึดมั่นในพระราชปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่มุ่งมั่น “ให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน” ด้วยการให้บริการที่ “เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต” ร่วมกับการตอบสนองต่อความต้องการของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสุขภาพ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565) เน้นปรัชญาทางการศึกษาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ร่วมกับทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism) มาใช้เป็นแนวทางการสร้างความคิดหรือปัญญาโดยเชื่อว่า “ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้จากประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง เป็นการนำความคิดไปสู่การกระทำ โดยอาศัยกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและภาวะแวดล้อม นำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ ด้วยตนเอง”

คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี

รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง
ดำรงตำแหน่งคณบดี
Skip to content