บริการนักศึกษา
บริการอาจารย์
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข้อมูลหลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
หลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
บริการนักศึกษา/อาจารย์
ติดต่อเรา
|
|
การประชุมวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 1 “การแพทย์แม่นยำ” วิทยาการก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพ: บทบาทพยาบาลและบุคลากรสุขภาพ “Precision Medicine” Healthcare Advancement: Roles of Nurse and Health Personnel

การประชุมวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 1 “การแพทย์แม่นยำ” วิทยาการก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพ: บทบาทพยาบาลและบุคลากรสุขภาพ “Precision Medicine” Healthcare Advancement: Roles of Nurse and Health Personnel

     คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดการประชุมวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 1
“การแพทย์แม่นยำ” วิทยาการก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพ: บทบาทพยาบาลและบุคลากรสุขภาพ“Precision Medicine” Healthcare Advancement: Roles of Nurse and Health Personnelการแพทย์แม่นยำ หรือ เวชกรรมตรงเหตุ (Precision Medicine) เป็นศาสตร์ใหม่ที่เติบโตอย่าง ก้าวกระโดดในการรักษาและประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรค โดยการศึกษาถึงกลไกการเกิดโรคในบุคคล ระดับยีน การศึกษาข้อมูลพันธุกรรม วิถีชีวิต และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิด โรคได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา สามารถเลือกยาหรือวิธีการรักษาได้เหมาะสมกับผู้รับบริการ ลดผลข้างเคียงของการใช้ยา ลดค่ารักษาพยาบาล อันเป็นผลมาจากการรักษาพยาบาลที่แม่นยำและตรงจุดกว่าเดิม เกิดประสิทธิภาพในการบำบัดดูแลเพิ่มขึ้น ผลสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ การรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่มีการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย การพัฒนาแนวทางการรักษาจากเดิม มาเป็น Precision medicine ทำให้สามารถเลือกการรักษาที่ตรงจุดและเหมาะสมที่สุด สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย (Personalized therapy in cancer)
     ประเทศไทยได้กำหนดให้การแพทย์แม่นยำเป็นนโยบายหนึ่งของงานด้านสาธารณสุขในการขยายการรักษาโดยใช้หลักการของแพทย์แม่นยำจากโรคมะเร็งสู่การรักษาโรคหลักอื่นๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อเอชไอวี โรคหัวใจขาดเลือด และโรคเบาหวาน ซึ่งจะทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ และการวางแผนการป้องกันด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันให้ห่างไกลโรค กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่าการแพทย์แม่นยำนี้มีผลการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ประมาณ 70,000 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรด้วย แต่อย่างไรก็ตามความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการแพทย์แม่นยำยังไม่แพร่หลายทั้งในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน
     คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพ ให้มีความรู้การแพทย์แม่นยำเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในการประเมิน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษาพยาบาลให้กับผู้รับบริการต่างๆ ตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละวิชาชีพ จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การแพทย์แม่นยำ’ วิทยาการก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพ: บทบาทพยาบาลและบุคลากรสุขภาพ” (Precision Medicine’ Healthcare Advancement: Roles of Nurse and Health Personnel)
เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานพันธุกรรมมนุษย์ สู่ความก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพตามแนวคิดการแพทย์แม่นยำ นโยบายด้านการแพทย์แม่นยำและแผนงานบริการในระบบสุขภาพไทย บทบาทของพยาบาล และบุคลากรสุขภาพ ในการให้บริการตามแนวคิดแพทย์แม่นยำ และตัวอย่างการประยุกต์ใช้การปรึกษาทางพันธุกรรมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการให้บริการเฉพาะบุคคล อันนำไปสู่การเพิ่มความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health literacy) เพื่อนำไปสู่การให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีมากขึ้น
     การนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวเปิดการประชุมวิชาการ และบรรยายพิเศษหัวข้อ “การแพทย์แม่นยำ วิทยาการก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพ”การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ อาจารย์พยาบาล บุคลากรสายสุขภาพและบุคลากรทั่วไป
Share With :
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หมวดหมู่
Skip to content