Skip to content
Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Home
Program
Knowledge Management
|
|
Program of Nursing Specialty in Renal Replacement Therapy Nurse Practitioner (Hemodialysis)

Program of Nursing Specialty in Renal Replacement Therapy Nurse Practitioner (Hemodialysis)

ชื่อหลักสูตร
          ภาษาไทย : หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)
          ภาษาอังกฤษ : Program of Nursing Specialty in Renal Replacement Therapy Nurse Practitioner (Hemodialysis)

ชื่อประกาศนียบัตร
          ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)
          ภาษาอังกฤษ : Certificate of Nursing Specialty in Renal Replacement Therapy Nurse Practitioner (Hemodialysis)
          ชื่อย่อ : ป. การพยาบาลเฉพาะทางเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)

รูปแบบของหลักสูตร
        หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น 6 เดือน หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) ตามเกณฑ์การจัดทำหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางและการบริหารหลักสูตร พ.ศ. 2557 และหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางต้นแบบ พ.ศ. 2563 ที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง

ประเภทของหลักสูตร : เป็นหลักสูตรฝึกอบรมทางวิชาชีพหลังปริญญาตรี
ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
การรับเข้าฝึกอบรม : รับผู้เข้าอบรมที่สามารถสื่อสารภาษาไทย
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรความร่วมมือระหว่างคณะพยาบาลศาตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์
การให้ประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม :
          1. ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)
          2. หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องการพยาบาล (CNEU) 50 หน่วยคะแนน
          3. ประกาศนียบัตรการช่วยชีวิตขั้นสูง (ACLS)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการฝึกอบรม
        เป็นพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทาง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ทั้งในภาครัฐและเอกชน

          ประเทศไทยมีนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน และยั่งยืน จากการลงมติรับรองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2554-2573 ใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การยึดมั่นในหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) การสร้างภูมิคุ้มกัน 3) การลดความเหลื่อมล้ำและให้ความสําคัญกับสิทธิมนุษยชน 4) รูปแบบการดําเนินงานต้องเริ่มจากการวางกรอบกติกาสังคม ให้มั่นคงและเป็นธรรมให้ทุกคนมีความเสมอภาค มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและการบริการภาครัฐอย่างเท่าเทียม และให้ความสําคัญกับการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาทั้งในประเทศ
และระหว่างประเทศ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดสิทธิประโยชน์ของโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย ที่ขยายขอบเขตการรักษาให้ครอบคลุม และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดหลักเกณฑ์และค่ารักษาพยาบาล ในการเบิกจ่ายค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ตามอัตรา ครั้งละ 1500 บาท ทำให้รัฐบาลต้องดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
          ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถทดแทนการทำหน้าที่ของไต และประคับประคองชีวิตผู้ป่วยให้สามารถดำเนินชีวิตใกล้เคียงภาวะปกติ เพื่อเตรียมรับการปลูกถ่ายเปลี่ยนไต ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีการรับรองหน่วยบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง ร่วมกับการกำหนดมาตรฐานการบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้มีอัตรากำลังพยาบาลไตเทียม 1 คนต่อผู้รับบริการ 4 คน ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนพยาบาลไตเทียมที่ผ่านการอบรมไม่เพียงพอต่อการบริการผู้ป่วย ตลอดจนผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีความซับซ้อนจากการมีโรคเรื้อรังร่วมหลายระบบ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น ทำให้การดูแลผู้ป่วยมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ร่วมกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีความก้าวหน้ามากขึ้นจึงจำเป็นต้องใช้พยาบาลที่มีความรู้ ทักษะ มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดทดแทนไต รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องมือพิเศษ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและเครื่องมือพิเศษสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้
          คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ ได้เห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จึงดำเนินการจัดหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต โดยนำหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ฉบับปรับปรุง 2560 ที่พัฒนาขึ้นโดยสภาการพยาบาล เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย ตรวจวินิจฉัยปัญหาสุขภาพ ประเมิน เฝ้าระวังและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่ได้การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตลอดจนสามารถจัดการดูแลผู้ป่วยให้คงสภาวะสุขภาพ ให้คำปรึกษา และบริหารจัดการหน่วยไตเทียม กำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนผลลัพธ์ของการบริการ รวบรวมข้อมูลและจัดการข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังและให้การบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ทั่วไป
          เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจนโยบายและระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคไตเรื้อรังและการบำบัดทดแทนไต มีความรู้และทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตระยะท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ปฏิบัติการพยาบาลและการบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยที่รับการบำบัดทดแทนไต สามารถใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องปลอดภัย บนพื้นฐานจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและหลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถประเมินปัญหา วางแผนป้องกัน จัดการกับภาวะแทรกซ้อน และความเสี่ยง รวมทั้งใช้สารสนเทศทางสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล และประสานงานกับทีมสุขภาพระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์เฉพาะ
          หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อให้พยาบาลมีสมรรถนะดังต่อไปนี้
          1. วิเคราะห์ นโยบาย ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ และจัดรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพได้
          2. มีทักษะในการประเมินและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้
          3. มีทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมบนพื้นฐานกฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
          4. จัดระบบการใช้บุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งการประสานงานในทีมเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ
          5. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไต และจัดการสุขภาพตนเองได้
          6. มีทักษะในการวิเคราะห์ หลักฐานเชิงประจักษ์และสารสนเทศทางสุขภาพ ในการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนของหลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
          1. วิเคราะห์ นโยบาย ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ และจัดรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพได้
          2. มีทักษะปฏิบัติในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมาย
          3. มีทักษะในการประเมินและวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และสารสนเทศทางสุขภาพ ร่วมกับใช้เทคโนโลยีในการจัดการข้อมูลทางสุขภาพในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
          4. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ในการเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตและการจัดการสุขภาพ รวมทั้งการจัดระบบการใช้บุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ และประสานงานในทีมเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ

          สมรรถนะของผู้เข้าอบรม หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) กำหนดเป็นมาตรฐาน โดยสภาการพยาบาล 4 สมรรถนะ ดังนี้
สมรรถนะ 1 สามารถให้การพยาบาลและให้การบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย
          1. วิเคราะห์สถานการณ์โรคไต นโยบาย กฎหมายและจริยธรรม รวมทั้งทรัพยากรในการจัดระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย
          2. ประเมินและวินิจฉัยภาวะสุขภาพขั้นสูง คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง รวมทั้งการประเมินสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของผู้ป่วยและครอบครัว
          3. ปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทั้งระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมและต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
          4. ประเมินผลลัพธ์ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยทั้งระยะสั้นและระยะยาว
          5. สนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวจัดการสุขภาพตนเอง
          6. ใช้เทคโนโลยีเพื่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
สมรรถนะ 2 สามารถจัดการข้อมูลทางสุขภาพของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อย่างเหมาะสม
          1. ระบุตัวชี้วัดภาวะสุขภาพ และตัวชี้วัดจากผลของการรักษาพยาบาล
          2. เลือกใช้เทคโนโลยีในการบันทึกและรวมรวมข้อมูล
          3. วิเคราะห์ข้อมูลและเสนอแนวทางในการปรับปรุงการพยาบาลผู้ป่วย
สมรรถนะ 3 สามารถใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based Practice) ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดเครื่องไตเทียม
          1. รวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิกที่มีผลที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ เพื่อการประชุมปรึกษาหารือในการป้องกันและปรับปรุงการรักษาพยาบาล
          2. บันทึกหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก
สมรรถนะ 4 มีทักษะหรือหัตถการที่เฉพาะหรือจำเป็นในการพยาบาลเฉพาะด้านทางคลินิกในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          1. เลือกใช้เครื่องมือเพื่อประเมินผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้แก่ การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อน ขณะและหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ความเพียงพอในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (KT/V) การประเมินภาวะโภชนาการ การประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
          2. ให้คำปรึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ได้แก่ การบำบัดทดแทนไต การดูแลตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหารเฉพาะโรค การดูแลเส้นฟอกเลือด เป็นต้น

คุณสมบัติทั่วไป
          1. มีสัญชาติไทย
          2. เป็นผู้ที่มีความปรพฤติดี มีความรับผิดชอบ ประวัติการทำงานดี
          3. ไม่เคยต้องรับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
          4. ไม่เคยเป็นผู้ถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือถูกไล่ออกจากหน่อยงานทั้งของรัฐและเอกชน
          5. ไม่เป็นโรคอันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและฝึกปฏิบัติ
          6. ไม่ตั้งครรภ์ระหว่างการศึกษา
          7. มีใบรับรองจากผุ้บังคับบัญชาขั้นต้น (หัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล) ได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อได้ตลอดหลักสูตรจากผุ้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นๆ(ผู้อำนวยการหรือเทียบเท่า)

คุณสมบัติเฉพาะ
          1. เป็นผู้ได้รับปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรีในสาขาวิชาการพยาบาล
          2. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการพยาบาลผดุงครรภ์ชั้น 1 จากสภาการพยาบาล ที่ยังไม่หมดอายุ
          3. เป็นผู้ที่มีประสบการณlปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี
          4. เป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติงานในหน่วยบำบัดทดแทนไต หรือมีแผนให้ปฏิบัติงานในหน่วยงานบำบัดทดแทนไต เมื่อสำเร็จการอบรม
          5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
          6. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก

1. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
2. โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์
3. โรงพยาบาลศิริราช

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร    19 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย  3 หมวดวิชา 9 รายวิชา ดังนี้

หมวดวิชา

หน่วยกิต

1. วิชาแกน 1 รายวิชา                       

2

1.1 วิชานโยบายและระบบสุขภาพ
     (Policy and health service system)

2(2-0-4)

2. วิชาบังคับของสาขาทางคลินิก 1 รายวิชา

2

2.1 วิชาการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไต 
      (Advanced health assessment and clinical Judgment for the patients with kidney disease)

2(1-2-3)

3. วิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขา 7 รายวิชา

15

3.1 วิชาหลักพื้นฐานในการพยาบาลผู้ป่วยโรคไต                                 
      (Essential nursing principle for patients with kidney disease)

3(3-0-6)

3.2 วิชาการบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
      (Hemodialysis therapy) 

2(2-0-4)

3.3 วิชาการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง                                               
      (Nursing care of Patient Undergoing Peritoneal Dialysis)

1(1-0-2)

3.4 วิชาการพยาบาลและบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมผู้ป่วยภาวะวิกฤต  
      (Nursing care and hemodialysis therapy for critically ill patients)   

2(2-0-4) 

3.5 ปฏิบัติการจัดการสารสนเทศในการดูแลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
      (Practicum of data management in hemodialysis patients)

1(0-4-1)

3.6 ปฏิบัติการบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม                           
      (Practicum of nursing for hemodialysis therapy)

4(0-16-4)

3.7 ปฏิบัติการพยาบาลและการบำบัดฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมผู้ป่วยวิกฤต         
      (Practicum of nursing care and hemodialysis therapy for critically ill patient)

2(0-8-2)

รวม

19



1. มีเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
2. มีระยะเวลาการฝึกปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 380 ชั่วโมง
3. ได้เกรดเฉลี่ยในทุกวิชาและตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
4. ผ่านการฝึกงานเพื่อเพิ่มพูนทักษะการบำบัดทดแทนไตเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และอย่างน้อย 50 รอบ ภายใต้การดูแลของอาจารย์พยาบาลพี่เลี้ยง (preceptor) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางการบำบัดทดแทนไตที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในหน่วยไตเทียมไม่น้อยกว่า 5 ปี