ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้ารับมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดี แก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ Internationally Outstanding Inventors Awards Ceremony ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก วิภาวดี
วันที่ 16 กันยายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดี แก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ (Internationally Outstanding Inventors Awards Ceremony) โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ พร้อมทั้งกล่าวแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลฯ ในวันนี้ที่เห็นถึงความสำเร็จของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่สามารถคว้ารางวัลจากการประกวด รวมจำนวนทั้งสิ้น 385 ผลงาน จาก 7 เวทีระดับนานาชาติ
สำหรับ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คว้า 5 รางวัล 3 ผลงาน จากเวทีประกวดผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ระดับนานาชาติ “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 21 เมษายน 2567 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสที่ผ่านมา จากทีมอาจารย์ อาจารย์แพทย์และนักวิจัยของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ได้รับรางวัล 1 เหรียญทอง (Gold Medal), 2 รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) และ 2 รางวัล Special Award สร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติให้กับประเทศไทย พร้อมพัฒนาต่อยอดเพื่อการนำไปใช้งานจริงทางการแพทย์และสาธารณสุข ผลงาน CRA Ambulance Boat : เรือฉุกเฉินต้นแบบเพื่อนำส่งผู้ป่วยในพื้นที่ทุรกันดารที่มีการประสานผ่านระบบ Telemedicine โดย อ.มัตติกา ใจจันทร์ และ อ.ดร.เชิดศักดิ์ ดวงจันทร์ อาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี และคณะ ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Medal), รางวัล Special Award จาก Association of Polish Inventors and Rationalizers และรางวัล Special Award จาก National Research Council of Thailand (NRCT) โดย CRA Ambulance Boat เป็นเรือฉุกเฉินต้นแบบเพื่อนำส่งผู้ป่วยในพื้นที่ทุรกันดาร มีจุดเด่น คือ ออกแบบโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบ Multimethod ทีมผู้พัฒนาเป็นแบบสหวิชาชีพ