สรุป
โครงการ การดำเนินงานสร้างเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษาเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่
ของศูนย์ Happy Place for Happy Mind
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อประเมินและคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่
๒. เพื่อหาแนวทางสร้างเสริมและป้องกันปัญหาทางด้านสุขภาพจิตร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
แบบประเมินที่ใช้
๑. แบบประเมินความเครียด ST-20 (กรมสุขภาพจิต) จำนวน ๒๐ ข้อ
๒.แบบประเมินเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย(WHOQOL–BREF–THAI) ประกอบด้วยองค์ประกอบของคุณภาพชีวิต ๔ ด้าน จำนวน ๒๖ ข้อ ดังนี้
๑. ด้านร่างกาย (physical domain) คือ การรับรู้สภาพทางด้านร่างกายของบุคคล
๒. ด้านจิตใจ (psychological domain) คือ การรับรู้สภาพทางจิตใจของตนเอง
๓. ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (social relationships) คือ การรับรู้เรื่องความสัมพันธ์ของตนกับบุคคลอื่น การรับรู้ถึงการที่ได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นในสังคม การรับรู้ว่าตนได้เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่นในสังคมด้วย
๔. ด้านสิ่งแวดล้อม (environment) คือ การรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
ผลการคัดกรองด้วยแบบประเมิน
พบว่า
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๑
จากการประเมินความเครียด นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๑ จำนวนทั้งหมด ๖๖ คน ซึ่งคะแนนความเครียดที่ได้ พบว่า ความเครียดระดับรุนแรง จำนวน ๒๕ คน ความเครียดระดับสูง จำนวน ๓๑ คน และความเครียดระดับปานกลาง จำนวน ๑๐ คน
จากการประเมินคุณภาพชีวิต นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๑ จำนวนทั้งหมด
๖๖ คน ซึ่งคะแนนคุณภาพชีวิตในภาพรวม ทุกคนมีคะแนนสูงกว่า ๖๐ (๑๓๐ คะแนน) แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
๒) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๒
จากการประเมินความเครียด นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๒ จำนวนทั้งหมด ๗๗ คน ซึ่งคะแนนความเครียดที่ได้ พบว่า ความเครียดระดับรุนแรง จำนวน ๓๖ คน ความเครียดระดับสูง จำนวน ๒๘ คน ความเครียดระดับปานกลาง จำนวน ๑๒ คน และความเครียดระดับน้อย จำนวน ๑ คน
จากการประเมินคุณภาพชีวิต นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๒ จำนวนทั้งหมด
๗๗ คน ซึ่งคะแนนคุณภาพชีวิตในภาพรวม มีคะแนนต่ำกว่า ๖๐ (๑๓๐ คะแนน) จำนวน ๑ คน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ซึ่งพบว่ามีปัญหาด้านจิตใจและด้านสิ่งแวดล้อม
๓) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๓
จากการประเมินความเครียด นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๓ จำนวนทั้งหมด ๖๒ คน ซึ่งคะแนนความเครียดที่ได้ พบว่า ความเครียดระดับรุนแรง จำนวน ๓๒ คน ความเครียดระดับสูง จำนวน ๒๐ คน และความเครียดระดับปานกลาง จำนวน ๑๐ คน
จากการประเมินคุณภาพชีวิต นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๓ จำนวนทั้งหมด
๖๒ คน ซึ่งคะแนนคุณภาพชีวิตในภาพรวม มีคะแนนต่ำกว่า ๖๐ (๑๓๐ คะแนน) จำนวน ๑ คน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ซึ่งพบว่ามีปัญหาด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
๔) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๔
จากการประเมินความเครียด นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๔ จำนวนทั้งหมด ๖๓ คน ซึ่งคะแนนความเครียดที่ได้ พบว่า ความเครียดระดับรุนแรง จำนวน ๒๗ คน ความเครียดระดับสูง จำนวน ๒๓ คน ความเครียดระดับปานกลาง จำนวน ๑๒ คน และความเครียดระดับน้อย จำนวน ๑ คน
จากการประเมินคุณภาพชีวิต นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๓ จำนวนทั้งหมด
๖๓ คน ซึ่งคะแนนคุณภาพชีวิตในภาพรวม มีคะแนนต่ำกว่า ๖๐ (๑๓๐ คะแนน) จำนวน ๒ คน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ซึ่งพบว่ามีปัญหาด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
๕) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาอื่น (๒ ปี ๖ เดือน)
จากการประเมินความเครียด นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สำหรับผู้สำเร็จ
การศึกษาปริญญาตรีสาขาอื่น (๒ ปี ๖ เดือน) จำนวนทั้งหมด ๑๐๑ คน ซึ่งคะแนนความเครียดที่ได้ พบว่า ความเครียดระดับรุนแรง จำนวน ๓๓ คน ความเครียดระดับสูง จำนวน ๔๐ คน ความเครียดระดับปานกลาง จำนวน ๒๔ คน และความเครียดระดับน้อย จำนวน ๔ คน
จากการประเมินคุณภาพชีวิต นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี ๓ จำนวนทั้งหมด
๖๒ คน ซึ่งคะแนนคุณภาพชีวิตในภาพรวม มีคะแนนต่ำกว่า ๖๐ (๑๓๐ คะแนน) จำนวน ๑ คน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ซึ่งพบว่ามีปัญหาด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งโดยภาพรวมทุกหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี๑-๔ และ
นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาอื่น (๒ ปี ๖ เดือน) จำนวน ๓๖๙ คน พบว่า
จากการประเมินความเครียด โดยภาพรวมทุกหลักสูตร นักศึกษาจำนวน ๓๖๙ คน พบว่า ซึ่งคะแนนความเครียดที่ได้ พบว่า ความเครียดระดับรุนแรง จำนวน ๑๕๒ คน ความเครียดระดับสูง จำนวน ๑๔๓ คน ความเครียดระดับปานกลาง จำนวน ๖๘ คน และความเครียดระดับน้อย จำนวน ๖ คน จากการจัดกลุ่มนักศึกษาความเครียดระดับรุนแรง และความเครียดระดับสูง พบว่ามีจำนวน ๒๙๕ คน (ร้อยละ ๗๙.๙๔) ควรได้รับการช่วยเหลือจากผู้ให้คำปรึกษา เช่น ทางโทรศัพท์ หรือผู้ให้คำปรึกษาในหน่วยงานต่างๆ
จากการประเมินคุณภาพชีวิต โดยภาพรวมทุกหลักสูตร นักศึกษาจำนวน ๓๖๙ คน พบว่า คะแนน
คุณภาพชีวิต มีคะแนนต่ำกว่า ๖๐ (๑๓๐ คะแนน) จำนวน ๕ คน แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ซึ่งพบว่ามีปัญหาด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
แนวทางการจัดการ ของศูนย์ Happy Place for Happy Mind
๑. การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เป็นรายบุคคล
– กรณีนักศึกษาในกลุ่มระดับความเครียดรุนแรงและความเครียดสูง ซึ่งปัญหาที่พบและแนวทาง
ที่ใช้ในการปรับแก้ปัญหา จากการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หลังจากการโทรศัพท์พูดคุย พบว่า
ปัญหาที่พบในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี๑-๔ ซึ่งได้แก่ ปัญหาการปรับตัวด้านการเรียนออนไลน์ ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการปรับตัวกับบทบาทใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย ปัญหาการสอบออนไลน์ เช่น ขาดสมาธิในการเรียน และสถานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียน เป็นต้น และปัญหาที่สัมพันธ์กับการเรียนออนไลน์ เช่น วิตกกังวลเรื่องผลการเรียน และเครียดเรื่องปัญหาการเงิน เป็นต้น
ปัญหาที่พบในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาอื่น (๒ ปี ๖ เดือน) ซึ่งได้แก่ ปัญหาการปรับตัวด้านการเรียนออนไลน์ ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการปรับตัวกับบทบาทใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย ปัญหาการสอบออนไลน์ เช่น ขาดสมาธิในการเรียน อ่านหนังสือรอบเดียวไม่จำ เป็นต้น และปัญหาที่สัมพันธ์กับการเรียนออนไลน์ เช่น วิตกกังวลเรื่องผลการเรียน วิตกกังวลว่าจะเรียนไม่ได้ และเครียดเรื่องปัญหาการเงิน เป็นต้น
แนวทางที่นักศึกษาใช้ปรับตัว เช่น การพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว การดูหนังฟังเพลง การออกกำลังกาย การนอนหลับ การจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนักศึกษาทุกคนสามารถจัดการกับปัญหาของตนเองได้
– กรณีนักศึกษาในกลุ่มที่มีความเครียดระดับปานกลางและความเครียดระดับต่ำ โทรศัพท์พูดคุย
ถึงแนวทางในการจัดการ แนวทางที่นักศึกษาใช้ปรับตัว เช่น การฝึกการหายใจ การฝึกสมาธิ การออกกำลังกาย การดูหนังฟังเพลง พูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน เป็นต้น
๒. การเปิด Club house โดยใช้กระบวนการกลุ่ม (Self help groups)
๓. Work shop ในประเด็นที่สนใจและต้องการ
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
- อยากให้อาจารย์โทรหาพูดคุยด้วยเป็นระยะ
- อยากให้มีช่องทางที่ไม่รู้จักตัวตน สามารถพูดคุยได้
- Club house เป็นสิ่งที่ดี ทำให้สามารถมีพื้นที่พูดคุยกับเพื่อนๆและอาจารย์