บริการนักศึกษา
บริการอาจารย์
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข้อมูลหลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
หลักสูตร
การจัดการความรู้ KM
บริการนักศึกษา/อาจารย์
ติดต่อเรา
|
|
โครงการสนทนากลุ่ม “การพัฒนาระบบการดูแลและบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”

โครงการสนทนากลุ่ม “การพัฒนาระบบการดูแลและบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการสนทนากลุ่ม “การพัฒนาระบบการดูแลและบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” สรุปประเมินผลลัพธ์ระบบการดูแลและบริการผู้ป่วย ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดำเนินมาตรการร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนอย่างยั่งยืน
     เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา แจ้งวัฒนะ รองศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ โตสิงห์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นประธานเปิด โครงการสนทนากลุ่ม โครงการย่อยที่ 3 “การพัฒนาระบบการดูแลและบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ภายใต้ โครงการ “บ้านหลักสี่” ชุมชนสุขภาวะต้นแบบในเขตสังคมเมือง มีผู้นำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม เกือบ 100 คน ใน 50 ชุมชน ที่อยู่ในพื้นที่เขตหลักสี่ พื้นที่เป้าหมาย
โดยแบ่งทีมนักวิจัย ออกเป็น 6 กลุ่ม ประจำอยู่ตามกลุ่ม ต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 รองศาสตราจารย์ ดร. อรพรรณ โตสิงห์ กลุ่มที่ 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภา ยุทธไตร กลุ่มที่ 3 อาจารย์ ดร. ขวัญธิดา พิมพการ กลุ่มที่ 4 นาวาอากาศเอกหญิง ดร.โสพรรณ โพทะยะ กลุ่มที่ 5 อาจารย์ ดร. ชนินทร์ จักรภพโยธิน กลุ่มที่ 6 อาจารย์มัตติกา ใจจันทร์ การสนทนากลุ่มในครั้งนี้ จะเป็นการสรุป ประเมินผลลัพธ์ของระบบการดูแลและบริการผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การดำเนินมาตรการร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน เพื่อให้การดำเนินการดูแลและบริการผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้เกิดความยั่งยืน
     ทั้งนี้การดำเนินการตลอดระยะเวลาของโครงการ “บ้านหลักสี่” ชุมชนสุขภาวะต้นแบบในเขตสังคมเมือง ที่ทางวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ซึ่งได้เงินสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ในปีงบประมาณ 2564 ถึง 2566 ที่มุ่งหวังนำผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมต่อสุขภาวะของบุคคลทุกช่วงวัยในชุมชนหลักสี่ และเกิดต้นแบบด้านการบริการสุขภาพที่สามารถนำไปใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้
 
Share With :
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หมวดหมู่
Skip to content